วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556


 




ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือ

ลักษณะทางด้านสังคม
ลักษณะทางด้านสังคม จำแนกได้ดังนี้
1) สังคมเมือง เป็นสังคมของประเทศกลุ่มแองโกล-อเมริกาที่ร่ำรวย ประชากรมีมาตรฐานการครองชีพสูง มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสลาย เป็นสังคมอุตสาหกรรมและพาณิชย์กรรม ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในเศรษฐกิจ 2 ประเภทนี้

 2) สังคมชนบทเป็นสังคมของประเทศกลุ่มลาตินอเมริกาที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่ ยากจนและมีรายได้น้อย นับถือประเพณีดั้งเดิมและสิ่งเร้นลับ



  ประชากร
1.1 เชื้อชาติ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1) กลุ่มคนผิวเหลือง เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อพยพมาจากทวีปเอเชีย ได้แก่ ชาวเอสกิโม หรือ อเมรินเดียน (Amerindian) ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา มลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา
ชาวอินเดียน (Indian) ในสหรัฐอเมริกาและอเมริกากลาง
2) กลุ่มคนผิวขาว เป็นประชากรที่อพยพมาจากทวีปยุโรป ได้แก่ ชาวสเปน โปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และชาวยุโรปอื่นๆ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
3) กลุ่มคนผิวดำ เป็นประชากรที่ถูกนำมาจากทวีปแอฟริกา เพื่อใช้แรงงานในไร่นาในสหรัฐอเมริกา มีอยู่มากในสหรัฐอเมริกามากกว่า 30 ล้านคน
4) กลุ่มคนเลือดผสม ได้แก่
- เมสติโซ (Mestizo) หมายถึง พวกเลือดผสมระหว่างชาวผิวขวากับอินเดียน เป็นประชากร ส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
- มูแลตโต (Mulatto) หมายถึง พวกเลือดผสมระหว่างชาวผิวดำกับชาวผิวขาว เป็นประชากรในสหรัฐอเมริกา
การกระจายและความหนาแน่นของประชากร อเมริกาเหนือมีประชากรทั้งหมดประมาณ 469.7 ล้านคน (2541) เฉลี่ยความหนาแน่นประมาณ 21 คนต่อตารางกิโลเมตร
1) บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น คือ ภาคตะวันออกของทวีป เพราะ
- ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และ การคมนาคมขนส่ง- มีปริมาณฝนเพียงพอกับการเพาะปลูก
- มีแร่ธาตุที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก น้ำมันปิโตรเลียม
- มีการคมนาคมขนส่งสะดวก ทั้งทางน้ำภายใน และทะเลสาบใหญ่ทั้ง 5 แม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ แม่น้ำมิสซิสซิปปี เขตชายฝั่งตะวันตกบริเวณรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นเขตการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและการคมนาคมขนส่ง
2) บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง เขตเทือกเขาและที่ราบสูงภาคตะวันตก เขตทะเลทรายทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เขตอากาศหนาวเย็นในมลรัฐอะแลสกาและดินแดนทางภาคเหนือของแคนาดา


แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากรทวีปอเมริกาเหนือ

ลักษณะทางด้านวัฒนธรรม
     
จำนวนประชากรในทวีปอเมริกาเหนือมีประมาณ 436 ล้าน คน จัดว่ามีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจาก ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป
เมื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ทวีปอเมริกาเหนือมีมนุษย์อาศัยอยู่แล้ว เชื่อกันว่าประชากรดั่งเดิมของทวีปอเมริกาอพยพมาจากทวีปเอเชีย โดยเดินทางจากคาบสมุทรชุกชีของทวีปเอเชียใช้สะพานธรรมชาติ ข้ามช่องแคบแบริง เข้าสู่คาบสมุทร อลาสกาของทวีปอเมริกาเหนือแล้วไปอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือแล้วเดินทางสู่ทวีปอเมริกาใต้ตามลำดับ ต่อมาชาวยุโรปเริ่มสำรวจทางทะเล คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus เป็นผู้จุดประกาย ให้ชาวยุโรปรู้จักดินแดนแห่งนี้และรู้จักดินแดนนี้มากยิ่งขึ้นจากการเขียนรายงานของ นักเดินเรือชื่อ อมริโกเวสปุคชีAmerico Vespucci ทำให้ชาวยุโรปสนใจและเข้ามาจับจองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
1) ภาษา ทวีปอเมริกาเหนือใช้ภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ได้แก่
1.1) ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการของประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
1.2) ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการของประเทศเม็กซิโกและประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา
1.3) ภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาราชการในรัฐควิเบกของประเทศแคนาดาและเฮติ ส่วนประเทศหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน จะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาหลัก และยังมีภาษาอื่น ๆ อีก เช่น ภาษาเอสกิโม ภาษาของชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงภาษาของชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
2) ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ดังนี้
2.1) นิกายโปรเตสแตนต์ นับถือมากในประเทศสหรัฐเอมริกาและแคนาดา
2.2) นิกายโรมันคาทอลิก นับถือมากในรัฐควิเบก ประเทศแคนาดาและประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา
ประชากรส่วนใหญ่ ในทวีปอเมริกาเหนือ นับถือศาสนคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ซึ่งเป็นเขตวัฒนธรรมแองโกลอเมริกา รองลงมานิกายโรมันคาทอลิก ส่วนเขตลาตินอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือประชากรจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก นอกจากศาสนาคริสต์ ก็มีการนับถือศาสนาอื่น ๆ แต่ก็ไม่มากนัก


นิกายโรมันคาทอลิก เป็นนิกายดั้งเดิมโดยศาสนิกชนที่นับถือศาสนานี้เชื่อว่าหลักธรรมที่ตนนับถือเเละสถาบันที่ตนสังกัดสืบทอดมาจากพระเยซูคริสต์ จึงถือว่านิกายของตนเป็นศูนย์รวมของศาสนาคริสต์ที่มีมาตั้งเเต่เริ่มต้นประมุขของนิกายโรมันคาทอลิกเรียกว่า พระสันตะปาปาประทับอยู่ ณ กรุงวาติกัน

นิกายโปรเตสเเตนต์ โปรเตสเเตนเป็นชื่อรวมของกลุ่มชาวคริสต์หลาย ๆ กลุ่มเกิดมาจากการที่พระชาวเยอรมัน ชื่อ มาร์ติ ลูเธอร์เห็นว่าศาสนจักรมีความไม่เหมาะสมจึงเเยกออกมาตั้งนิกายใหม่ หลังจากลูเธอร์ตั้งนิกายใหม่ก็มีการรวมตัวในลักษณะเช่นนี้อีกหลายกลุ่มเเละไม่ถือว่าพระสันตปาปาเป็นผู้นําศาสนาของตน

3) การศึกษา ประชากรในทวีปอเมริกาเหนือมีอัตราการรู้หนังสือสูง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ประชากรของประเทศในทวีปอเมริกาเหนือส่วนใหญ่อ่านออกและเขียนได้มากกว่าร้อยละ 80 ยกเว้นบางประเทศ เช่น ประเทศเอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส นิการากัว กัวเตมาลา เฮติ

การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของอเมริกาเหนือ
การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวัฒนธรรมในทวีปอเมริกาเหนือ สามารถสรุปโดยรวมรวมได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแองโกลอเมริกา ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ทั้ง 2 เป็นประเทศใหญ่มีความเข้มแข็งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างมากมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะสังคมอเมริกันมีบทบาทสูงต่อการชี้นำกิจกรรมต่าง ๆ ของโลกผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เพลง กีฬา แฟชั่น สื่อมวลชน อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ การที่ผู้คนย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก ทำให้สังคมมีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์สูงยิ่งขึ้น เป็นสังคมที่ผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก วัฒนธรรมมีความหลากหลายและมีการผสมผสาน การพัฒนาความเจริญทางวัตถุเป็นไปอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุที่มีประชากรมากและเป็นสังคมขนาดใหญ่ ประชากรบางส่วนมักจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมดั้งเดิมของครอบครัวและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

 
 
              ประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกาจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีสูง

อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกาจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีสูง เป็นประเทศที่มีความเจริญระดับแนวหน้าของโลก แต่ก็มีปัญหาทีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาอาชญากรรม การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด การพนัน คนจรจัด การก่อการร้าย พื้นที่เมืองมีการอยู่อาศัยอย่างแออัด การจราจรติดขัด เป็นต้น โดยปัญหาการก่ออาชญกรรมในเขตเมืองใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เช่น ชิคาโก ลอสแอนเจลิส มีเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ขณะเดียวกับผู้คนก็มีความเครียดสูงขึ้นตามไปด้วย
 

                สนามบินของเมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

สำหรับสังคมของกลุ่มลาดินอเมริกามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่การเป็นสังคมเมืองมากขึ้น พื้นที่เกษตรกรรมเต็มถูกเปลี่ยนแปลงไปใช้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ประชากรที่เคยทำอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื้นมากขึ้น เนื่องจากอาชีพเพาะปลูกมีผลผลิตและรายได้
ไม่แน่นอน ผู้คนที่มีฐานะยากจนเดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อเป็นแรงงานมากขึ้น เช่น ในกรุงเม็กซิโกซิตีเมืองปวยบลา กรุงกัวเตมาลาซิตี เป็นต้น ขณะที่ประชากรอีกส่วนหนึ่งในแถบลาตินอเมริกาก็พยามหาโอกาสเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาเพื่อหารายได้และโอกาสในชีวิตที่ดีกว่า จึงมักเกิดปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายขึ้นอยู่เสมอ

 
 
การเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งในสังคมลาตินนอเมริกา คือ จำนวนประชากรที่เป็นชาวอินเดียนแท้หรืออเมรินเดียน ซึ่งบรรพบุรุษเป็นเจ้าของที่ดินในทวีปอเมริกาเหนือ มีจำนวนลดน้อยลงในแต่ละประเภท และมีโอกาสกลายเป็นกลุ่มชนเล็ก ๆ ของสังคม เนื่องจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ยากที่จะรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตดั้งเดิมไว้ได้ โดยบุคคลรุ่นต่อ ๆ มาอาจจะเป็นเมสติโซหรือสายเลือดผสมอื่น ๆ มากขึ้น รวมทั้งการขาดการศึกษาและการพัฒนาด้านต่าง ๆ ชาวอเมริเดียนส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่ยากลำบาก
 
สำหรับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในแถบหมู่เกาะเวสต์อินดีส ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีการศึกษาน้อย พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย มีทรัพยากรทางทะเลที่สมบูรณ์ แต่ขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานและระบบสาธารณสุข และช่องว่างทางสังคมระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองกับชนบทมีมาก


 
 




 


       ทั้งนี้วัฒนธรรมเมริกันมีอิทธิพลต่อสังคมลาตินอเมริกาอย่างมากผ่านทางสื่อต่าง ๆ โดยประชากรส่วนใหญ่จะมองแนวทางการดำเนินชีวิตของสังคมอเมริกันเป็นต้นแบบ ขณะเดียวกันสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้นมากมายในประเทศต่าง ๆ ในอเมริกากลาง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ความยากจน อาชญากรรม การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด การค้ามนุษย์ รวมทั้งปัญหาสุขภาพอนามัยด้วย